Google June 2014 ~ Likeable English by PokePalm

Monday, June 30, 2014

ประโยคภาษาอังกฤษที่มี Modal Verb ตามด้วย Verb หลัก มักไม่ค่อยมีคนถามกันนักหรอกว่ามันคือ Tense อะไร แต่เมื่อใดที่มีคนถาม เราจัดคำตอบให้ท่านได้

Modal Verb เป็นกริยาช่วยประเภทหนึ่งที่นอกเหนือจาก V.to do, V.to be และ V.to have ได้แก่ will, would, shall, should, can, could, may, might, have to, has to, had better, must, be going to, need*, used to*

Sunday, June 29, 2014

เอาแล้วไง เวลามองผ่าน ๆ คงไม่เอะใจ แต่พอถามเจาะลึก อ่าว a ใน a boy’s book ขยาย boy หรือ book ล่ะ ผู้อ่านหลายคนคงไปไม่ถูกเลยทีเดียว

ภาษาอังกฤษยังไงก็ต้องมีไวยากรณ์ขับเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา จะบอกว่ารู้ไปแล้วช่วยอะไรมั้ยก็คงใช่ที่ เลยต้องถามว่า อยากเติม s เป็น a boy’s books มันจะถูกมั้ยเน้ออออ

ย้อนกลับมาที่เดิมก็คือ เราต้องรู้ให้ได้ว่า a ขยายคำไหน จึงจะรู้ได้ว่า books ใช้ได้หรือไม่

’s ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของ คั่นระหว่างเจ้าของกับอะไรก็ได้ (คน สัตว์ สิ่งของ) ซึ่งเป็นคำนามทั้งคู่ ดังนั้น a ก็ต้องขยายคำนามที่อยู่ใกล้มันที่สุด ในที่นี้ก็คือ boy นั่นเอง ส่วนคำที่ตามหลัง ’s ไม่ต้องมีคำนำหน้าอะไรทั้งนั้น ให้เป็นคำนามที่ต้องการเอ่ยถึงได้เลย

ภาษาอังกฤษ

Thursday, June 26, 2014

Verb สำคัญมากนะ เป็นถึงภาคแสดงของประโยค ขาดไม่ได้แน่นอน ในภาษาอังกฤษบางประโยคมองไม่เห็นประธานไม่เป็นไร แต่ไม่มี Verb นี่มันไม่ใช่ประโยคเลย
เช่น ประโยคคำสั่ง Go away. ก็จัดเป็นประโยคแล้วโดยที่เราไม่ต้องมองเห็น Subject (Subject ที่มองไม่เห็นคือ You)

Tuesday, June 24, 2014

ผู้เขียนนั่งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์จากสถานีพญาไทไปสถานีสุวรรณภูมิ จับเวลาได้ประมาณ 30 นาที เมื่อไปถึงสนามบิน ผู้เขียนก็ไปเดินเล่น เอ่อ ใช่ เดินเล่น จนกระทั่งไปเจอป้ายที่หน้าเคาน์เตอร์สายการบิน เขียนบอกด้วยประโยคภาษาอังกฤษชัดเจนว่า PLEASE DO NOT ENTRY ตามด้วย STAFF ONLY

ภาษาอังกฤษ
ประโยคภาษาอังกฤษ (Sentence) ประกอบด้วยภาคประธาน (Subject) กับภาคแสดง (Predicate)
ภาคประธานทำหน้าที่เป็นผู้กระทำของประโยค
ภาคแสดงเป็นสิ่งที่ภาคประธานได้กระทำ มีความหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นกริยา ส่วนขยายต่าง ๆ
หัวใจของภาคแสดงคือ กริยา (Verb) นั่นเอง แต่ส่วนขยายกริยาที่เหลือไม่จำเป็นต้องเป็นกรรม (Object) อาจเป็นอย่างอื่นก็ได้ งั้นประโยคสามารถมีส่วนประกอบอะไรได้บ้างที่ทำให้ใจความสมบูรณ์ เรามาดูกัน
ใจความสมบูรณ์คือข้อความที่สามารถเป็นประโยคได้ โดยที่ความหมายอาจยังไม่สมบูรณ์ก็ได้
1. Subject + Verb
มีเพียงแค่ประธานกับกริยา ยังไม่ต้องมีกรรม เราก็สามารถเข้าใจประโยคนี้ได้แล้ว เพราะกริยาบางชนิดไม่ต้องการกรรมก็ได้ เช่น
It rained heavily yesterday.

เรารู้ว่า It เป็น Subject และ rained เป็น Verb ข้อความนี้ก็สามารถเป็นประโยคได้แล้ว

ภาษาอังกฤษ

Monday, June 23, 2014

ผู้เขียนเชื่อว่าผู้เรียนภาษาอังกฤษหลายคนยังคิดว่าประโยค 1 ประโยคประกอบด้วยประธาน กริยา กรรมจริง ๆ แม้ว่าบางประโยคไม่จำเป็นต้องมีกรรมด้วยซ้ำไป หากผู้อ่านพูดคำว่า ประธาน กริยา กรรม เพื่อความง่ายในการสื่อสารก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเข้าใจว่ามีแค่เท่านั้นจริงละก็ ขอให้อ่านบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจใหม่ได้เลย
ถามกันขนาดนี้ก็ตอบได้ทันทีว่า ไม่ใช่
ในภาษาอังกฤษคนส่วนใหญ่คิดว่า hey อ่านว่า เฮย์ แล้ว ley จะอ่านว่า เลย์ ด้วย

ley เดี่ยว ๆ อ่านว่า เลย์ แต่ถ้ามันไปอยู่เป็นพยางค์สุดท้ายของคำ มันจะไม่อ่านว่า เลย์ อีกต่อไป


ผู้อ่านเห็นประโยคนี้ในภาษาอังกฤษแล้วรู้สึกเนียน ๆ แต่ก็แปลก ๆ เหมือนกันหรือเปล่า ท่านไม่ได้คิดไปคนเดียวหรอก เพียงแต่ไม่แน่ใจว่า เราจะใช้ there is หรือ there are เมื่อเจอคำตามที่ตามมาเป็น a 2 อัน

ขอให้หายกังวลได้เลย ลองตัวอย่างนี้
Tom and Jerry are forever friends and enemies,
ประธานมี 2 ตัวคือ Tom ซึ่งเป็นเอกพจน์ และ Jerry ซึ่งเป็นเอกพจน์ พอรวมกันด้วย and ก็กลายเป็นพหูพจน์



Sunday, June 22, 2014

ผู้เขียนได้ยินประโยคนี้ในภาษาอังกฤษทีแรกตกใจเลยว่ามีคนพูดประโยคผิดไวยากรณ์ผิดขนาดนี้เลยหรอ แต่นึกได้ทันทีว่าสิ่งที่ฟังมาคือภาพยนตร์อเมริกันนั่นเอง ซึ่งเป็นปกติที่คนอเมริกันยึดหลักไวยากรณ์ได้ไม่เป๊ะเท่ากับคนอังกฤษ แบบที่ได้ยินบ่อย เช่น She don’t ทั้งที่ต้องเป็น She doesn’t

What do we got? ก็เป็นอีกประโยคหนึ่งที่ได้ยินบ่อยในเวลาที่หัวหน้าถามลูกน้องหรือพระเอกถามเพื่อนสนิทว่าได้เบาะแสอะไรมาบ้าง ผู้เขียนคิดได้ว่าประโยคนี้ที่ถูกต้องอาจเป็น What did we get? หรือ What have we got? ก็ได้

วันนี้เรามาเรียนภาษาอังกฤษเรื่องคำนามกันดีกว่า คำนามมีทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ ผู้อ่านคงทราบกันดีว่าถ้าคำนามนั้นมีปริมาณเพียงแค่หนึ่ง คำนามก็จะเป็นเอกพจน์ แต่ถ้ามีปริมาณที่ไม่เท่ากับหนึ่ง ก็จะเป็นพหูพจน์ ผู้ที่สงสัยว่าเลขทศนิยมตามด้วยคำนามเอกพจน์หรือพหูพจน์ สามารถไปอ่านได้ที่ here

คราวนี้ผู้อ่านอาจได้สงสัยอีกครั้งหนึ่งว่าถ้าเลขนั้นไม่ใช่หนึ่ง ไม่ใช่สอง ไม่ใช่ศูนย์ ไม่ใช่ทศนิยม ไม่ใช่เศษส่วน ไม่ใช่ each หรือ every แต่เป็นคำว่า มากกว่าหนึ่ง หรือ more than one แล้ว คำนามที่ตามมาเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์กันแน่

Thursday, June 19, 2014

ภาษาอังกฤษ มีความพิเศษคือ ของหนึ่งสิ่งกับของหลายสิ่งเรียกไม่เหมือนกัน คำนาม (Noun) แบ่งตามปริมาณที่นับได้ออกเป็น 2 แบบคือ เอกพจน์ (หนึ่งอัน) และ พหูพจน์ (หลายอัน)
คำนามเอกพจน์และพหูพจน์ไม่มีในภาษาไทยเลย ไม่ว่าจะปริมาณเท่าไรก็ยังเรียกลักษณนามของมันยังเหมือนเดิม เช่น รถ 1 คัน, รถ 2 คัน, รถ 100 คัน

Find us on facebook

Powered by Blogger.