Google Likeable English by PokePalm

Monday, December 15, 2014

Verb ในภาษาอังกฤษมีหลายอวตารซะเหลือเกินนะ คนไทยมี Verb กิน แต่คนอังกฤษขอมี เรากิน เธอกิน กินในอดีต กินไปแล้ว กำลังกิน จะกิน แม้จะมีความหมายเดียวกัน รูปร่างของมันไม่เหมือนกันเล้ยยยยย ต่อให้รูปร่างเหมือนกัน สถานะที่มันเป็นก็ไม่เหมือนกันอีก

ผู้เรียนภาษาอังกฤษต้องผ่านเรื่องนี้มาแล้วแน่นอน พวกเขาต้องท่อง กิน กินในอดีต กินไปแล้ว หรือ ไป ไปในอดีต ไปแล้ว หรือ เล่น เล่นในอดีต เล่นมาแล้ว ลักษณะการท่องแบบนี้ คนไทยเรียกว่า Verb 3 ช่อง ได้แก่ Verb 1, Verb 2 และ Verb 3
Verb
Verb 1
Verb 2
Verb 3
กิน
eat
ate
eaten
ไป
go
went
gone
เล่น
play
played
played

คุ้นเลยมะ แต่เชื่อเดะ ไปพูดแบบนี้กับฝรั่ง เค้าคงงงเป็นไก่ตาแตก (คำนี้แปลว่าอะไร 5555) เราต้องพูดคำที่ดูเป็นทางการกว่านั้น เค้าถึงจะรู้จัก
-         Verb ที่คนทั่วไปเห็นกัน ใช้กัน รูปดั้งเดิม ก่อนแปลงร่างเป็นตัวประหลาดทั้งหลาย มักเรียกว่า Base form of verb หรือเรียกเป็นทางการว่า Infinitive without to
-         Verb 1 เป็น Verb แท้ใน Present Simple Tense ถ้าประธานเป็นนามเอกพจน์หรือสรรพนามบุรุษที่ 3 ที่เป็นเอกพจน์ (he, she, it) Verb พวกนี้จะเติม s, es, ies ด้วย ถ้าประธานเป็นแบบที่เหลือ Verb ก็จะหน้าตาเหมือนเดิมเช้งเด๊ะ เราก็เลยเรียก Verb เหล่านี้ว่า Present Simple
-         Verb 2 เป็น Verb แท้ใน Past Simple Tense เราก็เลยเรียกว่า Past Simple
-         Verb 3 เป็น Verb ไม่แท้ที่เจอใน Perfect Tenses, Passive Voice และ Phrase อื่น ๆ ที่มีลักษณะถูกกระทำ เราเรียกว่า Past Participle
-         V.ing เป็น Verb ไม่แท้ที่เจอใน Continuous Tenses และ Phrase อื่น ๆ ที่มีลักษณะกระทำเอง เราเรียกว่า Present Participle
ระวัง Present Participle เป็น V.ing ที่ทำหน้าที่คล้าย Adjective แต่ Gerund เป็น V.ing ที่ทำหน้าที่คล้าย Noun ลองย้อนไปอ่านได้ที่ ภาคสาม

เมื่อเรารู้ชื่อเป็นทางการทั้งหมดแล้ว ให้จับทั้งหมดมารวมใส่ตารางเดียวกัน จะได้
Infinitive
(V)
Present Simple
(V.1 + s,es,ies)
Past Simple
(V.2)
Past Participle
(V.3)
Present Participle
(V.ing)
eat
eat(s)
ate
eaten
eating
go
go(es)
went
gone
going
play
play(s)
played
played
playing
study
study(yies)
studied
studied
studying
be
is, am, are
was, were
been
being

สังเกตที่ Verb 3 ช่องว่า Verb อย่าง eat, go, be หน้าตาเปลี่ยนไปเลย แต่ play, study ก็แค่มี ed ตามหลัง นั่นเป็นเพราะ Verb 3 ช่องมีการผัน 2 แบบ
1.     Regular Verb คือการผัน Verb แบบปกติ เพียงแค่เติม ed หรือเปลี่ยนเป็น ied ทั้ง Verb 2 และ Verb 3 จบบบบบบบบบบบบ เช่น hang hanged hanged
2.     Irregular Verb คือการผัน Verb แบบไร้รูปแบบ (irregular อ่านว่า อิ-เร็ก-กู-ลา ir ที่แปลว่า ไม่ อ่านว่า อิ ไม่เคยอ่านว่า เออ เลย) เอาว่าตรงข้ามกับ Regular Verb แค่นั้นแหละ เช่น hang hung hung


Saturday, November 22, 2014



แม้ว่า Verb แท้เป็นองค์ประกอบที่ต้องมีในทุกประโยค Verb ไม่แท้ก็มีบทบาทที่สำคัญในภาษาอังกฤษไม่ใช่น้อย ช่วยทำให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นไปอีกจนคนนึกว่า Verb ไม่แท้คือ Verb ที่สำคัญที่สุดของประโยค แต่มันไม่ใช่ไง ตามที่ได้กล่าวไว้ในภาคแรก เช่น เพื่อนจะไปสถานทูตไปทำวีซ่า สุดท้ายเราก็ได้รู้ว่าเพื่อนมีจุดประสงค์ไปทำวีซ่า แต่สิ่งที่เพื่อนได้กระทำเป็นหลักคือ เพื่อนจะไปสถานทูต นั่นเอง

 

Verb ไม่แท้ (Nonfinite Verb) แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ

1. Gerund มีรูปร่างเป็น V.ing หน้าที่ของมันไม่ได้ต่างอะไรกับคำนามเลย แต่มันไม่ใช่คำนาม และสามารถตามด้วย Object ได้ เพราะคำมันก็ยังเป็น Verb อยู่วันยังค่ำ การที่มี Verb ประเภทนี้เกิดขึ้นเพราะมันไม่มีรูปแบบคำนามล่ะ ความหมายของ V.ing ตัวนี้ เวลาแปลไทยจะมี การ นำหน้า Verb นั้นตลอดเลย เช่น
eat แปลว่า กิน สังเกตว่า Verb ชนิดนี้ไม่มีรูปคำนาม แต่การเติม ing สามารถทำให้หน้าที่มันคล้ายกับคำนามได้ นั่นคือ eating = การกิน และยังสามารถตามด้วย Object ได้อีก อย่าง eating strawberries = การกินสตรอว์เบอร์รี เรียกว่า Gerund Phrase
ตัวมันเองก็ทำหน้าที่เป็น Subject, Object ในประโยคได้ด้วยนะ ตัวอย่าง
Eating strawberries makes you healthy. การกินสตรอว์เบอร์รีทำให้คุณสุขภาพดี
ทั้งก้อน Eating strawberries น่ะแหละ เป็น Subject ของประโยค แบ่งออกเป็น
- Eating เป็น Gerund ถือเป็น Subject ที่สำคัญที่สุด (Simple Subject)
- strawberries เป็น Object ของ eating
สังเกตว่า make เติม s แสดงว่ามันขึ้นกับคำว่า eating ซึ่งเป็นเอกพจน์นะ

 
 
I enjoy eating strawberries. ฉันเพลิดเพลินกับการกินสตรอว์เบอร์รี
ทั้งก้อน eating strawberries นี่ก็เป็น Object ของ enjoy นะ และแน่นอนว่า eating คือ Object ที่สำคัญที่สุดของก้อนนี้

 

2. Infinitive มีรูปร่างเป็น V.1 (Base form) ไม่มีการแปลงร่างเป็นอะไรทั้งนั้น เช่น be ไม่ใช่ is, am, are, was, were, been อาจจะมี to นำหน้าด้วยหรือไม่ก็ได้ (ที่เค้าบอก Infinitive with to/without to น่ะแหละ) ถ้ามี to เวลาแปลไทยมักแปล ที่จะ นำหน้า Verb ตัวนั้น เช่น to eat = จะกิน, to sleep = จะนอน, to be = จะเป็น, to do = จะทำ
    ตัวมันเองทำหน้าที่ได้เยอะ ได้แก่ Subject, Object, Adjective, Adverb ตัวอย่างก็เยอะตาม
    To enjoy eating strawberries is my style. จะเพลิดเพลินกับการกินสตรอว์เบอร์รีเป็นวิถีของฉัน
    ทั้งก้อน to enjoy eating strawberries เป็น Subject ของประโยค โดย To enjoy เป็น Subject หลัก ส่วน eating strawberries เป็น Object ของ enjoy และ strawberries เป็น Object ของ eating


    I want to eat strawberries. ฉันอยาก(ที่)จะกินสตรอว์เบอร์รี
    ทั้งก้อน to eat strawberries เป็น Object ของ want โดย เออ to eat เป็น Object หลัก
    

Let’s find a good spot to eat strawberries. ไปหาจุดดี ๆ ที่จะกินสตรอว์เบอร์รีกันเถอะ
ทั้งก้อน to eat strawberries ทำหน้าที่ Adjective ขยาย spot มันไม่ใช่ Adjective นะ แค่ทำหน้าที่


He asked me to eat strawberries. เค้าบอกให้ฉันกินสตรอว์เบอร์รี
ทั้งก้อน to eat strawberries ทำหน้าที่ Adverb ขยาย asked ย้ำว่ามันไม่ใช่ Adverb จริง


3. Participle ทำหน้าที่เป็น Adjective เพราะมันยังตามด้วย Object ได้ แต่ถ้าเปิดเจอในพจนานุกรมว่าเป็น Adjective คำนั้นจะเป็น Adjective ไปเลยนะ เพราะมันไม่ตามด้วย Object แน่นอนละ เดี๋ยวอธิบายทีหลัง แต่บอกก่อนว่า Participle มี 2 แบบคือ
    - Present Participle รูปแบบคือ V.ing ซึ่งต่างกับ Gerund ที่ทำหน้าที่คำนาม แต่อันนี้ทำหน้าที่ Adjective ความหมายของมันจะสื่อไปว่ามันเป็นผู้กระทำเอง (Active Voice) เช่น
    There was a sign indicating danger here. มีสัญญาณบอกอันตรายที่นี่
    ทั้งก้อน indicating danger ขยาย sign เรียกก้อนนี้ว่า Participial Phase โดยมี indicating เป็นตัวหลักซึ่งคือ Present Participle สังเกตว่า sign สามารถ indicate ได้ด้วยตัวเอง

 

    That running man is my neighbor. คนที่วิ่งคนนั้นเป็นเพื่อนบ้านฉันเอง
    คราวนี้ running มาอยู่หน้านาม ถ้าเปิดพจนานุกรมแล้วไม่มีคำว่า running ที่แปลว่า วิ่ง เป็น Adjective แล้ว งั้นตัวนี้แหละจะมี Part of Speech เป็น Verb ประเภท Present Participle สังเกตว่า man วิ่งได้ด้วยตัวเอง


    This is an interesting book. นี่เป็นหนังสือที่น่าสนใจ
    คราวนี้แหละที่เราเปิดพจนานุกรมแล้วเจอว่า interesting เป็น Adjective เลย ดังนั้นคำนี้เป็น Adjective จริง ๆ แต่ก็อยากให้รู้ไว้ว่า มันก็มาจาก interest แปลงร่างเป็น V.ing ที่มีลักษณะเดียวกับ Present Participle น่ะแหละ

    This singing contest has been held for 50 years. การประกวดการร้องเพลงนี้ถูกจัดมา 50 ปีแล้ว
    เอาล่ะสิ ถ้าใครคิดว่า singing contest เป็น Present Participle ต้องคิดใหม่ได้เลย ลองแปลสิ การประกวดที่ร้องเพลงอยู่ การประกวดที่กำลังร้องเพลง การประกวดมันร้องเพลงเองได้เหรอ ไม่เลย แต่ถ้าลองแปลว่า การประกวดการร้องเพลง เฮ้ย เข้าท่าอ่ะ แสดงว่า singing นี้ไม่ใช่ Present Participle ละ แต่เป็น Gerund ต่างหาก และเราได้เปิดพจนานุกรมดู ปรากฎว่ามันเป็นคำนามด้วย งั้นเราก็บอกว่า singing เป็น Gerund หรือคำนามเองเลยก็ได้
   
    The boy is doing his homework. เด็กชายกำลังทำการบ้าน
    V.ing ที่อยู่ใน Continuous Tenses คือ Present Participle ทั้งนั้นแหละ แต่มักไม่ใช่จุดที่เราสนใจกันนัก เพราะเรามองภาพรวมว่า is doing เป็น Verb แท้ไปเลย

    - Past Participle รูปแบบคือ V.3 ความหมายของมันจะสื่อไปว่ามันเป็นผู้ถูกกระทำ (Passive Voice) คนมักเข้าใจผิดว่า Past Participle คือ V.ed ทั้งที่มันจริงแค่ครึ่งเดียว เพราะ V.3 อาจไม่ใช่ V.ed ก็ได้ เช่น eat ate eaten(V.3), play played played(V.3)
    There was danger indicated by a sign here. มีอันตรายที่บ่งบอกได้จากป้ายตรงนี้
    ทั้งก้อน indicated by a sign here เป็น Participial Phase ขยาย danger โดยมี indicated เป็น Past Participle 


    That recorded message is from my phone. ข้อความที่ถูกอัดนั่นมาจากโทรศัพท์ฉัน
    เราจะเห็นว่า message ถูก record ดังนั้น recorded จึงเป็น Past Participle


    That boy has finished his homework. เด็กชายคนนั้นทำการบ้านเสร็จแล้ว
    V.3 ที่อยู่ใน Perfect Tenses และ Passive Voice คือ Present Participle ทั้งนั้นแหละ แต่มักไม่ใช่จุดที่เราสนใจกันนัก เพราะเรามองภาพรวมว่า has finished เป็น Verb แท้ไปเลย

Find us on facebook

Powered by Blogger.